ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย รวมไปถึงในแวดวงอุตสาหกรรมการจัดงานอีเวนต์ ต้องพบเจอกับข่าวสารที่มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา จนอาจทำให้วิเคราะห์ข้อมูลไม่ทัน แต่ด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เราน่าจะพอได้ยินกันมาบ้าง นั่นคือ ChatGPT ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานของนักจัดกิจกรรมให้มีความสะดวกขึ้น
ในบทความนี้
any i จะพาไปทำความรู้จักกับ Chat GPT แชทบอทที่ช่วยให้ Event Planner คิดงานได้เร็วขึ้นและสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานได้อย่างไร มาฝากกัน
คือ แชทบอท AI (ซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยตอบกลับการสนทนาผ่านข้อความแบบอัตโนมัติ) พัฒนาโดย OpenAI องค์กรวิจัยปัญญาประดิษฐ์
ซึ่งตัว Chat GPT นั้นได้รับการออกแบบมาให้สามารถโต้ตอบการสนทนาได้เหมือนมนุษย์จริง ถูกสร้างขึ้นมาจากโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model หรือ LLM) ซึ่งเป็นโมเดลแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning) ขั้นสูงที่สามารถเข้าใจและสร้างภาษาธรรมชาติ (ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสาร) ได้
Chat GPT มีบทบาทอย่างไรต่อธุรกิจการจัดอีเวนต์
Chat GPT มีบทบาทสำคัญต่อนักวางแผนกิจกรรม หรือนักการตลาด เนื่องด้วยความสามารถของแชทตัวนี้ เปรียบเสมือนเครื่องมือในการร่นระยะการทำงานที่ทั้งง่ายและมีประสิทธิภาพ เช่น นักการตลาดนำมาใช้ในการหาไอเดียแคมเปญ, ข้อแนะนำแผนงาน หรือ วิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ ที่บางครั้งอาจมองข้ามไปได้ แม้กระทั่งในส่วนของ Event Planner สามารถใช้ในการจัดตารางกิจกรรมไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้ดูกันคร่าว ๆ ว่า Chat GPT กับอุตสาหกรรมการจัดอีเวนต์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง ด้วยการป้อนคำสั่งที่ต้องการลงไป
ตัวอย่างไอเดียการจัดอีเวนต์ จาก Chat GPT
1. แนะนำไอเดียการจัดอีเวนต์แบบตัวต่อตัวที่สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้คนในงาน
การจัดอีเวนต์แบบตัวต่อตัวที่สามารถมี Engagement ร่วมกับผู้เข้าชมนั้น ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีและประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งทำให้เกิดความสนุกสนานและเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น any i จึงได้นำตัวอย่างไอเดียการจัดอีเวนต์บางส่วนจาก Chat GPT มาให้ได้อ่านกัน
- Gamification: การผสมผสานเกมและความท้าทายเข้ากับงาน สามารถสร้างความสนุกสนานและการโต้ตอบได้มากขึ้นผ่านเกมต่าง ๆ เช่น เกมล่าสมบัติ เกมตอบคำถาม หรือเกมไขปริศนาที่เกี่ยวข้องกับธีมกิจกรรมเพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมงาน
- Interactive Sessions (สถานการณ์ที่มีการโต้ตอบกัน): ผู้เข้าร่วมงานสามารถมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
ไม่ใช่แค่เพียงการดูหรือฟังเท่านั้น เช่น การจัดการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ การระดมความคิด (Brainstorming) หรือการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมงานให้ทำกิจกรรมร่วมกันและช่วยกันออกไอเดีย เป็นต้น
- Technology: การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างการใช้ แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือ, การสแกน QR Code,
AR (Augmented Reality),
VR (Virtual Reality) หรือ
เทคโนโลยี Interactive เช่น Interactive Floor, Interactive Wall เพื่อสร้างประสบการณ์การโต้ตอบให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน
- Entertainment: การเพิ่มความบันเทิง เช่น ดนตรีสด สแตนด์อัพคอมเมดี้ หรือการแสดงมายากลสามารถสร้างสีสันให้แก่งานอีเวนต์ได้ตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังทำให้บรรยากาศงานสนุกสนานและผ่อนคลายมากขึ้นอีกด้วย
- Interactive Booths: สามารถสร้างซุ้มกิจกรรมโต้ตอบที่เกี่ยวข้องกับธีมงานด้วยการนำเทคโนโลยี Interactive มาใช้ เช่น การบูธถ่ายภาพ หรือ บูธทดลองสินค้า เป็นต้น
ตัวอย่างการจัดงานอีเวนต์ จาก Chat GPT ที่สร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วม ด้วยการใช้เกม เทคโนโลยี และความบันเทิง ที่เข้ามายกระดับกิจกรรมแบบตัวต่อตัวให้น่าดึงดูดและน่าจดจำยิ่งขึ้น
2. แนะนำไอเดียการโปรโมตอีเวนต์แบบออฟไลน์บนโซเชียลมีเดีย
การจัดอีเวนต์แบบตัวต่อตัวนั้น หากไม่ได้รับการโปรโมตที่ดี เช่น กลุ่มเป้าหมายไม่ทราบถึงวันเวลาสถานที่จัด หรือไม่เข้าใจถึงภาพรวมของงาน อาจทำให้ไม่สนใจที่จะเข้าร่วมได้ ตัวอย่างไอเดียการทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมตงานจาก Chat GPT ในที่นี่ทางตัว Chat GPT ได้แนะนำคอนเทนต์ที่ดีที่สุดในการ PR ผ่านสื่อออนไลน์ ด้วยหัวข้อ "Behind-the-Scenes" Social Media Campaign for On-Ground Event เบื้องหลังของแคมเปญการจัดงานแบบตัวต่อตัวในการโปรโมตลงโซเชียล เพื่อให้มีการพูดถึงและสร้างกระแสด้วยการให้ผู้คนได้ดูสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังของงาน เช่น ขั้นตอนการดำเนินงาน การระดมความคิด การจัดสถานที่ เป็นต้น ซึ่งไอเดียนี้สามารถนำมาใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมเลยทีเดียว และ คือขั้นตอนสำคัญบางส่วนที่จำเป็น
ในการทำคอนเทนต์นี้
- ระบุประเด็นสำคัญของงานที่คาดว่าผู้คนน่าจะสนใจ เช่น นักแสดง ผู้บรรยายหลัก แขกรับเชิญพิเศษ หรือกิจกรรมสร้างประสบการณ์ Interactive ภายในงาน
- วางแผนการถ่ายทำเบื้องหลัง ที่จะนำไปสู่สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายในงาน เช่น การซ้อม การทดสอบระบบเสียง (Sound Check) หรือการสัมภาษณ์นักแสดงและผู้จัดงาน
- สร้างแฮชแท็กของแบรนด์สำหรับอีเวนต์ และกระตุ้นให้ผู้ติดตามใช้แฮชแท็กนี้ เมื่อทำการโพสต์สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมบนสื่อโซเชียลมีเดีย
- สร้าง Content Calendar ของโซเชียลมีเดีย เพื่อทำการระบุเนื้อหาคอนเทนต์ที่จะทำการโพสต์ในแต่ละวันก่อนเริ่มงาน รวมไปถึงเตรียมภาพถ่าย วิดีโอ และบทสัมภาษณ์สั้น ๆ กับนักแสดงและผู้จัดงานไว้ด้วย
ด้วยการที่ให้ผู้คนได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลัง เป็นการสร้างความตื่นเต้นและความสนใจในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในงาน แคมเปญประเภทนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการโปรโมตกิจกรรมและดึงดูดผู้คนบนโซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดี
3. แนะนำชื่องานอีเวนต์ที่สร้างสรรค์และแตกต่าง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจัดอีเวนต์นั้น นอกจากธีม หรือกิจกรรมที่สร้างความน่าสนใจให้แก่ผู้คนแล้ว ชื่องานก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเปรียบเสมือนประตูทางเข้าที่จะดึงดูดให้ผู้คนอยากเข้ามาภายในงาน ตัวอย่างไอเดียชื่องานอีเวนต์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและธีมของงานจาก Chat GPT
- "Eco Rave": ปาร์ตี้เต้นรำในธีมความยั่งยืน (Sustainability) ช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการใช้ชีวิตสีเขียว (Green living) และการประหยัดพลังงาน
- "Planet Fest": งานเทศกาลแหล่งรวมคนรักสิ่งแวดล้อม ได้มาร่วมฉลองให้กับธรรมชาติและโลก เพิ่มสีสันภายในงานด้วยการจัดนิทรรศการ ผ่านเทคโนโลยี Interactive หรือการแสดงที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- "Green Wave": แคมเปญทำความสะอาดชายหาดขนาดใหญ่ สร้างความตระหนักรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการลดมลพิษและส่งเสริมการอนุรักษ์ท้องทะเล
ตัวอย่างการใช้ Chat GPT ในการจัดอีเวนต์
1. ขั้นตอนการวางแผนงาน (Pre-Event Planning)
- การจัดตาราง (Scheduling) Chat GPT สามารถช่วย Event Planner ในการจัดกำหนดการประชุมหรือการนัดหมาย รวมไปถึงการติดตามเวลา กำหนดการส่งมอบต่าง ๆ โดยสามารถป้อนข้อมูลคำสั่งตามที่ต้องการ ในที่นี้ทางเราได้ทำการ ป้อนคำสั่งเพื่อเป็นตัวอย่างดังนี้ “Make a calendar for schedule event planning” ดังในรูปทาง Chat GPT ได้จัดตารางเวลา พร้อมทั้งลงรายละเอียดงานในแต่ละช่วงเวลามาให้ ซึ่งทั้งนี้รายละเอียดเฉพาะของตาราง ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของงาน หรือสไตล์การทำงานของแต่ละบุคคล หากต้องการแบบเฉพาะเจาะจงสามารถเพิ่มดีเทลของงานลงไปในชุดคำสั่งได้ตามที่ต้องการ
- การจัดงบประมาณ (Budgeting) ตัว Chat GPT สามารถช่วยผู้จัดงาน ติดตามค่าใช้จ่าย หรือเปรียบเทียบราคาจาก Supplier ในแต่ละบริษัท รวมไปถึงยังช่วยในเรื่องการตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การคัดเลือกสถานที่จัดงาน (Vendor Selection) การนั่งค้นหาสถานที่จัดงานตามที่ต้องการด้วยตัวเองอาจทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก การใช้ Chat GPT เข้ามาช่วยก็จะสามารถให้ Event Planner ร่นระยะเวลาการทำงานไปได้ เพียงแค่ป้อนความต้องการ เช่น จังหวัดที่ต้องการจัดงาน ขนาดของคนที่สามารถรองรับได้ เสร็จแล้ว ตัว Chat GPT ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่เกี่ยวข้อง และใกล้เคียงกับชุดคำสั่งที่สุด แสดงออกมาเป็นข้อมูลที่มีระเบียบและให้ผู้อ่านย่อยง่าย สิ่งนี้ก็จะช่วยให้ผู้จัดงานสามารถนำมาเปรียบเทียบและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
2. การดำเนินการในวันจัดงาน (Event Day Operations)
- ขั้นตอนการลงทะเบียน (Registration) Chat GPT สามารถช่วยในการปรับปรุง และดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น เช่น การตอบคำถามในขั้นตอนการลงทะเบียนให้กับผู้เข้าร่วมงาน หรือการแสดงเส้นทางพาผู้เข้าชมไปยังจุดที่ต้องการ รวมไปถึงการอัปเดตข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกำหนดการอีเวนต์ อีกทั้งยังสามารถใช้ คู่กับปลั๊กอินอย่าง WooCommerce event POS (Point of Sale) เพื่อขายตั๋วที่ประตูทางเข้า หรือการตรวจสอบความถูกต้องของตั๋วผ่านแอปพลิเคชันเช็กอินได้
- การบริการลูกค้า (Customer Service) ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมงานสอบถามข้อมูลโดยตรงผ่าน Chat GPT ได้ทันที ซึ่งในการณีที่ไม่เจอพนักงาน (Staff) ก็สามารถได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนได้โดยไม่ต้องรอคอย
3. การวิเคราะห์ข้อมูลหลังจบงาน (Post-Event Analysis)
- การรวบรวมความคิดเห็น (Feedback Collection) สามารถช่วยรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม ผู้สนับสนุน (Sponser) หรือผู้ขาย และจัดทำสรุปความคิดเห็นออกมา ในรูปแบบชุดข้อมูลที่ทางทีมสามารถนำกลับไปใช้งานได้
- การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) Chat GPT สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากการจัดอีเวนต์ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วม ระดับการมีส่วนร่วม และ ROI (Return On Investment) นำมาสร้างเป็นข้อมูลเชิงลึกและนำมาวิเคราะห์ว่าการจัดงานครั้งนี้ได้บรรลุเป้าหมายไปหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อปรับปรุงการจัดอีเวนต์ของธุรกิจในอนาคตได้
ข้อดีของการใช้ Chat GPT ในการทำ Event Planning
1. วางแผนงานได้ง่ายขึ้น (Planning)
ดังตัวอย่างต่าง ๆ ที่ได้ยกขึ้นมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า Chat GPT สามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลง ช่วยจัดการรวบรวบรวมข้อมูล และย่อยออกมาได้ง่ายต่อการนำไปใช้ต่อ ส่งผลให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ มีความราบรื่นขึ้น และมีขั้นตอนน้อยลง ช่วยประหยัดทั้งทรัพยากรแรงงานและเวลา รวมไปถึงต้นทุนต่าง ๆ อีกด้วย
2. ปรับแต่งแผนงานได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย (Personalize)
ในตัว Chat GPT ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้อย่างละเอียด ตามชุดคำสั่งที่ได้ป้อนลงไป เช่น การป้อนแผนงาน รวมไปถึงข้อมูลของผู้เข้าร่วมงาน ให้วิเคราะห์แผนว่าสอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ตัวโมเดลนี้ก็จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและเสนอคำแนะนำที่ควรปรับปรุงในการจัดงาน อีกทั้งยังช่วยค้นหาปัญหาหรือจุดอ่อนของแผนงาน และนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ธุรกิจสามารถทำได้
สรุป Chat GPT แชทบอทที่ช่วยให้ Event Planner คิดงานได้เร็วขึ้น
จากที่กล่าวไปทั้งหมดนั้นทำให้ทราบถึงศักยภาพอันทรงพลังของ Chat GPT ที่สามารถเข้ามาช่วยให้การจัดงานอีเวนต์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทั้งการช่วยปรับปรุงกระบวนการวางแผนงาน และการเพิ่มประสบการณ์การมีส่วนร่วมให้แก่ผู้เข้าร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความสามารถในการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของแผนงานและการเสนอวิธีแก้ปัญหา ซึ่งนำไปสู่โอกาสในการประสบความสำเร็จในการจัดงานอีเวนต์ให้แก่ธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
หากท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้วสนใจในการนำเทคโนโลยี Interactive เข้ามาใช้ในการจัดอีเวนต์ รวมไปถึงต้องการการขยายธุรกิจด้วยการใช้ Virtual Tech สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก
any i ผ่านช่องทาง
แชทบนหน้าเว็บไซต์
Email:
khem@anyimedia.com
ทาง any i ยินดีให้บริการทุกท่านเสมอ