AI ในชีวิตประจําวัน สรุป Timeline พัฒนาการของ AI ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

any i media • 25 ตุลาคม 2567
AI ในชีวิตประจําวัน สรุป Timeline พัฒนาการของ AI ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักจะได้ใช้เทคโนโลยี AI ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพื่ออำนวยความสะดวกหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การยืนยันตัวตนเพื่อใช้อุปกรณ์สื่อสาร การเรียน การทำงาน สุขภาพ รวมถึงการจัดอีเวนต์ให้น่าสนใจด้วยเช่นกัน 


แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า AI ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นแนวคิดของมนุษย์ที่หวังจะสร้างเทคโนโลยีให้มีความฉลาดมาตั้งแต่ยุคโบราณ และผ่านการพัฒนามาแล้วหลายครั้ง บทความนี้ any i จะขอพาไปย้อน Timeline วิวัฒนาการของ AI ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมกับการประยุกต์ใช้ AI ในชีวิตประจำวันว่าจะเป็นอย่างไร 



ย้อนวิวัฒนาการของ AI ในอดีต สู่ AI ในชีวิตประจำวัน 


ย้อนวิวัฒนาการของ AI ในอดีต สู่ AI ในชีวิตประจำวัน


1940s: ยุคบุกเบิก AI 


เริ่มจากปี ค.ศ. 1943 Warren McCulloch และ Walter Pitts ได้เสนอแนวคิด และสร้างแบบจำลอง Neural Networks หรือที่เรียกกันว่า “โครงข่ายประสาทเทียม” ขึ้นมา ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบการเรียนรู้ของ AI ที่มีโมเดลเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1949 Donald Hebb ได้วิจัยต่อยอดแนวคิดโครงข่ายประสาทเทียมจนได้แนวคิดใหม่ที่มีชื่อว่า Hebbian Learning 


จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1950 Marvin Minsky และ Dean Edmonds ได้นำแนวคิดมาสร้างระบบโครงข่ายใยประสาทตัวแรกของโลกที่สร้างจากหลอดสุญญากาศจำนวน 3,000 หลอด และมีหน่วยประสาทจำนวน 40 หน่วย มีชื่อว่า ‘SNARC’ ในขณะเดียวกัน Alan Turing ได้เสนอแนวคิดที่มีชื่อว่า “Turing Test” โดยจะทดสอบกับเทคโนโลยีในยุคนี้ว่าสามารถคิดได้เหมือนมนุษย์หรือไม่ ซึ่งถ้าคิดได้เหมือนจริงแสดงว่าเทคโนโลยีนั้นมีความฉลาด และนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ AI ถือกำเนิดขึ้นมา

 

1950s –1960s: ยุคเริ่มต้น AI 


หลังจากที่ Alan Turing ได้เสนอแนวคิด Turing Test ออกไป ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์วิจัย และต่อยอดแนวคิดนี้มากขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1955 John McCarthy พร้อมกับนักวิจัยอีกหลายคนเสนอทฤษฎีอัตโนมัติ (Automata Theory) ซึ่งเกี่ยวกับโครงข่ายใยประสาท และความฉลาดของเทคโนโลยีในการประชุมรวมตัวนักวิจัยชั้นนำที่มหาวิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และได้เริ่มใช้คำว่า “Artificial Intelligence” ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ 


ตั้งแต่นั้นมา เริ่มมีการวิจัย AI โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา AI แบบสัญลักษณ์ (Symbolic AI) ซึ่งเป็นการสร้างระบบให้เทคโนโลยีในยุคนี้ทำตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด (Rule-Based System) และแก้ไขปัญหาเชิงตรรกะได้ แต่จะไม่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้รับ 


ยกตัวอย่างงานวิจัยในยุคนี้ 


  • ปี ค.ศ. 1956 มีการวิจัยระบบที่เลียนแบบการแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ 
  • ปี ค.ศ. 1958 ได้สร้างภาษา LISP เพื่อใช้กับ AI 
  • ปี ค.ศ. 1965 แชตบอต ELIZA ได้ถือกำเนิดขึ้น 
  • ช่วงปี ค.ศ. 1963 - 1968 พัฒนาแอปพลิเคชันแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

 

1970s: ยุคแห่งความผิดหวัง 


เมื่อ AI ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จที่แก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ได้ ทำให้นักวิจัยหลายคนเกิดความคาดหวังสูงว่าจะพัฒนา AI ให้ฉลาดมากขึ้นอีก แต่ทว่า คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของพลังในการประมวลผลที่น้อยเกินไป ทำให้ AI ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างที่คาดไว้ ส่งผลให้นักวิจัยไม่สามารถพัฒนา AI ต่อได้อีก ก่อให้เกิดเป็นความผิดหวัง และหันไปวิจัยเทคโนโลยีอื่นที่มีความเป็นไปได้มากกว่าแทน 


1980s: ยุคแห่งความหวัง

 

เดิมทีนักวิจัยมุ่งเน้นแต่พัฒนา AI แบบสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาข้อมูลที่ซับซ้อนได้ บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งจึงพยายามจะฉีกกรอบข้อจำกัดของ AI โดยการพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้เอง หรือเรียกอีกอย่างว่า Machine Learning ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกระบวนการเรียนรู้ข้อมูลของ AI ที่ได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ 


ผลปรากฏว่า AI สามารถเรียนรู้ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป และทำนายผลลัพธ์จากข้อมูลได้โดยไม่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ล่วงหน้าเหมือน AI ยุคก่อน ยิ่งไปกว่านั้น ยังแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้มากขึ้น ส่งผลให้นักวิจัยหลายคนหันมาสนใจ AI อีกครั้งด้วยความหวังที่อยากจะพัฒนา AI ให้มีความแม่นยำมากขึ้นในหลายด้าน 


ผู้ช่วยเสมือน AI


1990s - 2000s: ยุคผู้ช่วยเสมือน AI

 

ยุคนี้เป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญ คอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าสูง จึงมีการพัฒนา AI ให้มีพลังประมวลผลมากขึ้น พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถของ AI ให้สามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะด้าน ส่งผลให้มีเทคโนโลยี AI ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้มนุษย์เกิดขึ้นมากมาย 


ยกตัวอย่างเทคโนโลยี AI เช่น 


  • ในปี ค.ศ. 1997 Deep Blue ซึ่งเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM เอาชนะแชมป์หมากรุกโลกที่เป็นมนุษย์ได้สำเร็จ นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ AI 
  • ในปี ค.ศ. 1999 SONY พัฒนาหุ่นยนต์สุนัขไอโบ้ (Aibo) สามารถตอบสนองและเป็นเพื่อนกับมนุษย์ได้ 
  • ในปี ค.ศ. 2002 IROBOT ผลิต ROOMBA หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทำความสะอาดบ้าน 


2010s - ปัจจุบัน: ยุคที่ AI ฉลาดเหนือมนุษย์

 

เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย และส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นนั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ต้องเก็บข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์ และประมวลผลในปริมาณที่มหาศาลมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “Big Data” จึงนำไปสู่การสอน AI ให้สามารถเรียนรู้ข้อมูลได้มากขึ้น และทำงานที่ซับซ้อนขึ้นได้อีกหลายชั้น โดยนำกระบวนการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์แบบ Machine Learning มาพัฒนาต่อให้ฉลาดขึ้นอีกหนึ่งระดับ นั่นคือ Deep Learning 


ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีบริษัทเทคโนโลยีหลายเจ้า นำ AI ที่มีการเรียนรู้แบบ Deep Learning ไปสร้างเทคโนโลยีที่มีความฉลาดสูงเพื่อให้สามารถช่วยเหลือมนุษย์ และประยุกต์ใช้เป็น AI ในชีวิตประจำวันได้หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น 


  • ค.ศ. 2011 Apple พัฒนาโปรแกรมสนทนา Siri และนำมาบรรจุใน iPhone 
  • ค.ศ. 2014 Amazon เปิดตัว Alexa ซึ่งเป็นระบบผู้ช่วย Shopping ที่สั่งการด้วยเสียง 
  • ค.ศ. 2016 Microsoft เปิดตัวระบบ AI ที่มีชื่อว่า Tay สามารถแชต พูดคุย และเล่นมุกตลกได้ 
  • ค.ศ. 2017 AI ของ Google ที่มีชื่อว่า AlphaGo  เอาชนะเซียนหมากล้อม มือ 1 ของโลกติดต่อกัน 60 เกม 


เรื่องราวของ AI ได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกอีกครั้ง เมื่อปลายปี ค.ศ. 2022 OpenAI ได้เปิดตัวเทคโนโลยี ​AI Chatbot ที่มีชื่อว่า “ChatGPT” ซึ่ง AI จะไม่ใช่ Traditional AI ที่ประมวลผล และแก้ปัญหาง่าย ๆ เพื่อเพิ่มความเร็ว และประสิทธิภาพในการทำงานกับข้อมูลเยอะ ๆ อีกต่อไป แต่ใช้นวัตกรรมยุคใหม่ที่เรียกว่า Generative AI ในการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ จากคำสั่งของมนุษย์ที่ป้อนข้อมูลเพื่อช่วยหาคำตอบให้ภายในไม่กี่วินาที 


การมีอยู่ของ ChatGPT ได้สร้างปรากฏการณ์ให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจ AI มากขึ้น กลายเป็นเทคโนโลยี AI ที่โด่งดังที่สุดในตอนนั้น ทำให้บริษัทคู่แข่งด้าน AI ไม่ว่าจะเป็น Google และ Anthropic ต้องรีบเปิดตัวเทคโนโลยี Generative AI ของตัวเองตามกันมา เช่น Gemini, Claude, Perplexity และอื่น ๆ 


ปัจจุบัน AI สามารถแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ได้มากกว่าสมัยก่อน ทำให้มีการใช้ AI ในชีวิตประจำวันมากขึ้น แทบจะใช้ในทุกกิจกรรมของแต่ละคนเลยทีเดียว 


รู้จักกับ AI ในชีวิตประจำวัน

 

รู้จักกับ AI ในชีวิตประจำวัน

AI ในชีวิตประจำวัน เปรียบเสมือนกับเพื่อนคู่ใจที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย แก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้จากโปรแกรม AI ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นประจำ แอปพลิเคชันที่มีการใช้ AI มากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยี AI ตามงานอีเวนต์ต่าง ๆ โดยจะขอยกตัวอย่าง AI ที่มักจะพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ดังนี้ 


ตัวอย่าง AI ในชีวิตประจำวัน 


1. ผู้ช่วยส่วนตัว 

ไม่ว่าจะเป็น AI Assistant ที่จะทำความเข้าใจ และตอบสนองคำสั่งของผู้ใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น Siri ของ Apple และ Alexa ของ Amazon รวมทั้ง Generative AI ที่สามารถวิเคราะห์ข้อความหรือคำถามที่ใช้เป็นข้อมูลเริ่มต้น (Prompt) และแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอได้ตามต้องการ เช่น ChatGPT, Gemini, Midjourney และ Perplexity เป็นต้น 

 

2. การดูแลสุขภาพ 

AI ในชีวิตประจำวันด้านสุขภาพมักจะนำไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา รวมถึงเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วย อาทิ Chatbot ตอบคำถามปัญหาสุขภาพ และการใช้ยา หรือจะเป็นเทคโนโลยี AI ช่วยวินิจฉัยโรคจากข้อมูลของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ผลเอ็กซ์เรย์ รวมถึงเทคโนโลยี AI ตรวจสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น 


3. การยืนยันตัวตน 

สังเกตกันไหมว่า เวลาจะใช้แอปพลิเคชัน หรือปลดล็อกสมาร์ตโฟน จะใช้ AI ที่มีความสามารถในการจดจำและสแกนใบหน้าของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำในการยืนยันตัวตน (Face Recognition) เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และป้องกันมิจฉาชีพ เช่น FaceID ของ Apple และ Amazon Rekognition ของ Amazon 


4. Smart Living 

ตอนนี้ เทคโนโลยีดูแลสุขภาพยังเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่อง จึงมีการนำ AI มาใช้กับระบบ Smart Living มากขึ้น เช่น การแพทย์ทางไกล ระบบขนส่งไร้คนขับ รวมทั้งระบบบ้านอัจฉริยะที่จะวิเคราะห์อุณหภูมิ ความสว่าง และส่วนต่าง ๆ และปรับการตั้งค่าภายในบ้านให้เป็นมิตรกับผู้พักอาศัย 


5. Generative AI 

เป็นอีกหนึ่ง AI ในชีวิตประจำวันที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะเป็นเทคโนโลยี AI แบบ Deep Learning ที่สร้างเนื้อหาใหม่ ๆ ในรูปแบบภาพ เสียง รวมทั้ง วิดีโอจากข้อมูลเริ่มต้นได้ จึงสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้หลากหลายสายงาน เช่น งานวิเคราะห์ข้อมูล งานสร้างสรรค์สื่อ ภาพ AI เป็นต้น 


6. การจัดงานอีเวนต์ 

มีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับงานอีเวนต์มากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในงาน และได้รับรู้สึกประทับใจกลับไป เช่น แบรนด์ หรือออร์แกไนเซอร์นำตู้ถ่ายภาพ AI SNAP หรือ AI Photobooth มาช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับคนในงานผ่านการถ่ายภาพที่สามารถเลือกธีม ปรับแต่งกรอบได้ และพิมพ์ภาพถ่ายเก็บไว้เป็นความทรงจำดี ๆ ได้ด้วย 


AI SNAP


สรุป

 

AI ในชีวิตประจำวันผ่านการพัฒนามาแล้วหลายครั้งตั้งแต่อดีต โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการเสนอแนวคิดการทำงานของ AI ในช่วงปี 1940s และเริ่มวิจัย AI ครั้งแรกในช่วงปี 1950s จนกระทั่งเจอข้อจำกัดด้านการประมวลผลที่ทำให้ AI ไม่ได้ไปต่อในช่วงปี 1970s และกลับมาพัฒนาอีกครั้งในช่วงปี 1980s ให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ต่อมาในช่วงปี 1990s - ปัจจุบัน ได้นำ AI ไปใช้กับเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน รวมไปถึงเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อยกระดับการใช้งานให้หลากหลายด้านมากขึ้น เช่น ผู้ช่วยส่วนตัว การดูแลสุขภาพ การยืนยันตัวตน Smart Living การจัดอีเวนต์ด้วยตู้ถ่ายภาพ AI SNAP 


หากนักจัดอีเวนต์ Organizer หรือ ธุรกิจใดที่ต้องการตู้ถ่ายภาพ AI SNAP รวมถึง เช่าอุปกรณ์อีเวนท์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก any i ผ่านช่องทางแชตบนหน้าเว็บไซต์

   

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ 

Email: contact@anyimedia.com 

LINE Official: @anyi   

เบอร์โทรศัพท์: 061-023-7370   

ทาง any i ยินดีให้บริการทุกท่านเสมอ 



ที่มา 

การใช้ AI ในชีวิตประจำวัน: เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราให้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จาก Netka 

ย้อนวิวัฒนาการในรอบ 75 ปี ปัญญาประดิษฐ์ จาก ThaiPBS 

ความเป็นมาของ AI จาก ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

A HISTORY OF Al วิวัฒนาการ 'ปัญญาประดิษฐ์' เค้าคิดขึ้นมาได้ยังไง จาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 

สรุปย่อวิวัฒนาการของ AI การมาของ Generative AI และ ChatGPT ผลกระทบต่อมนุษยชาติ แล้วเราจะอยู่กันยังไง? จาก Thailand Edutainment Network 

วิวัฒนาการ AI: จากจุดกำเนิดสู่ยุคเฟื่องฟู | ประวัติศาสตร์ AI และ Data Science ที่น่าทึ่ง จาก AUDIT ASSURANCE AND CONSULTING 

ต้นกำเนิดของปัญญาประดิษฐ์ (AI) จาก ICHI media 

Big Data คืออะไร? ประโยชน์และตัวอย่างการใช้ Big Data ในมุมต่าง ๆ จาก Wisesight (Thailand) 

Smart Living คืออะไร เทคโนโลยีใดบ้าง ที่ช่วยตอบโจทย์วิถีชีวิตคนในปัจจุบัน จาก National Telecom 

สแกนใบหน้าอย่างไรให้มั่นใจ ไม่ถูกสวมรอย ในวันที่… AI Deepfake มาแรง จาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 


เกมส์อีเว้นท์ Case Study ไอเดียตู้เกม Interactive เพิ่ม Traffic ในงานที่แบรนด์ดังเลือกใช้!
โดย any i media 21 มีนาคม 2568
เกมส์อีเว้นท์จาก any i ที่แบรนด์ดังเลือกใช้ ทั้ง Air Touch และ Touchscreen พร้อมเทคนิคเพิ่ม Traffic ในอีเว้นท์อย่างมีประสิทธิภาพ
ตู้ถ่ายรูป ราคาสุดคุ้ม AI SNAP พร้อม Photo Wall อัปเกรดความปังให้อีเวนต์
โดย any i media 14 มีนาคม 2568
ตู้ถ่ายรูป AI SNAP ราคาสุดคุ้มพร้อมภาพถ่าย AI ที่สวยล้ำและจอแสดงผล Photo Wall สร้างความอิมแพคในงานอีเวนต์
นวัตกรรมใหม่ ๆ น่า สนใจ AI Presenter จัดอีเวนต์ล้ำสมัยใช้ได้จริง
โดย any i media 28 กุมภาพันธ์ 2568
นวัตกรรมใหม่ ๆ น่าสนใจ AI Presenter สามารถช่วยให้งานของคุณดูล้ำสมัย และเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ร่วมงานอย่างไรได้บ้าง คลิกเพื่ออ่านต่อ
Show More
Share by: