หากพูดถึงพิพิธภัณฑ์หรืองานแสดงนิทรรศการ อาจทำให้ผู้คนนึกถึงการเดินดูภาพนิ่ง หรือประติมากรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจไม่มีกิจกรรมที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมได้มากนัก แต่ธุรกิจสามารถแปลงโฉมภาพลักษณ์พิพิธภัณฑ์แบบเดิม ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยี Interactive เข้ามาเพิ่มความน่าสนใจ และสร้างความโดดเด่นให้แก่งานของคุณ จนนำไปสู่การเป็นที่จดจำและเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการจัดงานได้
บทความนี้ any i ได้รวบรวม 5 นิทรรศการและพิพิธภัณฑ์รูปแบบ Interactive สร้างความดื่มด่ำแบบเหนือขั้น ด้วยเทคโนโลยี มาแบ่งปันกัน
ปัจจุบันการนำเทคโนโลยี Interactive หรือ สื่อที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งาน มาใช้ในการจัดนิทรรศการนั้นเป็นหนึ่งในวิธีการที่ช่วยขยายการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ สร้างบรรยากาศภายในงานให้มีความสมจริงมากขึ้น เช่น การจำลองเหตุการณ์จริง การทำภาพนิ่งให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือการสร้างกิจกรรมที่ให้ผู้คนมีส่วนร่วมไปกับเหตุการณ์นั้น ๆ ช่วยเพิ่มความดื่มด่ำ (Immersive) ทำให้ได้รับประสบการณ์การเข้าชมนิทรรศการที่เต็มรูปแบบ อีกทั้งยังมีความเพลิดเพลินไปในขณะเดียวกัน ซึ่งในบทความนี้ได้รวม 5 นิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี Interactive ได้อย่างน่าทึ่ง ดังนี้
การใช้เทคโนโลยี Interactive ในการจัดนิทรรศการ
วิดีโอจาก Story of the Forest
เป็นการทำงานร่วมกันของภัณฑารักษ์ และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะดิจิทัล จึงทำให้เกิดนิทรรศการ Story of the Forest ประจำพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ การเล่าเรื่องของนิทรรศการนี้ใช้ภาพวาดแนวธรรมชาติที่สมจริง จากคอลเลคชันของ วิลเลียม ฟาร์คูฮาร์ (William Farquhar) ชาวบริติชคนแรกที่อพยพมายังประเทศสิงคโปร์ ภาพวาดของพืชและสัตว์ที่ถูกนำมาทำให้เคลื่อนไหวได้ ผสานเข้ากันกับสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือแนวฟุ้งฝันที่ถูกสร้างขึ้นให้ผู้เข้าชมมีความรู้สึกหลงใหลและถูกดึงดูดเข้าไปจากการเล่าเรื่องราวผ่านภาพชุดนี้ อีกทั้งยังได้ทำการติดตั้งจอแสดงผลแบบถาวร เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่จะช่วยให้คอนเซ็ปต์ของนิทรรศการนี้สมจริงมากขึ้น และเพิ่มประสบการณ์ที่สมจริงผ่านเทคโนโลยี Interactive ด้วยการให้ผู้เข้าชมดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อนำมาใช้ในการมีส่วนร่วมไปกับงาน เช่น การสแกนภาพสัตว์หรือต้นไม้เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์นั้น ๆ เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) ในการจัดนิทรรศการ
วิดีโอจาก HTC VIVE
หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่โด่งดังที่สุดของโลก พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (The Louvre) เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในปี 2009 ได้มีการจัดอีเวนต์พิเศษให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Experience) ผ่านศิลปะยุคเรเนซองค์ ของศิลปินผู้โด่งดังอย่าง เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ในชื่อนิทรรศการโมนาลิซ่า Beyond the Glass เนื่องในโอกาสการครบรอบ 500 ปี การจากไปของศิลปินท่านนี้ ภายใน 7 นาทีของการเข้าชมผู้เข้าร่วมจะได้รับประสบการณ์เสมือนจริงด้วยภาพที่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือเสียงประกอบที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ ได้รู้สึกมีส่วนร่วมไปกับ Da Vinci ผ่านเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) เป็นการจำลองสถานการณ์จริงออกมาในรูปแบบ 3 มิติที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตอบโต้ต่อสิ่งรอบตัวได้อย่างเสมือนจริง
การใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ในการจัดนิทรรศการ
วิดีโอจาก Falcon's Creative Group
ณ พิพิธภัณฑ์ศูนย์อวกาศเคนเนดี ได้ทำการจัดนิทรรศการ Heroes & Legends แด่ผู้ที่ทำงานร่วมกับโครงการอวกาศของสหรัฐฯ และเหล่าฮีโร่ที่ออกไปผจญภัยในอวกาศเป็นครั้งแรก นิทรรศการนี้จะพาคุณไปสัมผัสประสบการณ์การท่องอวกาศอย่างเสมือนจริง ด้วยการใช้เทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality และ เทคโนโลยีโฮโลแกรม (Hologram) เป็นการสร้างภาพให้ดูมีความคมชัด มีมิติมีความลึกนูนออกมาจากกรอบ ภาพ ซึ่งจะเน้นไปที่การให้ผู้เข้าร่วมได้รับชมแบบ 3 มิติ ช่วงที่พิเศษในนิทรรศการครั้งนี้คือการใช้เทคโนโลยี AR ในการแสดงภาพและการจำลองการเดินทางของ ยูจีน เคอร์แนน (Gene Cernan) นักบินอวกาศคนแรกที่เดินทางออกนอกโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงเวลานั้นถือเป็นการท่องอวกาศที่ยากลำบาก ถึงขั้นบรรยายว่าเป็น “Spacewalk From Hell” ในนิทรรศการนี้ได้จำลอง ปัญหาระหว่างการเดินทางและทุกรายละเอียดที่เกิดขึ้นอย่างสมจริง ผ่านสัมผัสทั้ง 4 (Multisensory) กลิ่น, เสียง, สัมผัส และมุมมองของ ยูจีน เคอร์แนน (Gene Cernan) ที่ช่วยเพิ่มความดื่มด่ำ (Immersive) เติมเต็มประสบการณ์การเข้าชมนิทรรศการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการบรรยายและการจำลองผ่านมุมมองนักบินอวกาศท่านอื่น ๆ เช่น อลัน เชพเพิร์ด (Alan Shepard), นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong), จอห์น เกล็นน์ (John Glenn) และ จิม เลิฟเวลล์ (Jim Lovell) เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยี Interactive ในการจัดนิทรรศการ
วิดีโอจาก Ine RP Braat
เป็นทัวร์นิทรรศการที่ได้เดินทางจัดตามประเทศต่าง ๆ และมีผู้เข้าชมมากกว่า 5,000,000 คน ซึ่งในการแสดงครั้งนี้ผู้จัดต้องการนำภาพของศิลปิน Vincent van Gogh ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยการบรรยายเรื่องราวผ่านทั้งผนังและพื้นของห้องนิทรรศการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าชมนั้นได้ดื่มด่ำกับบรยากาศของงานในทุก ๆ องศา ด้วยการใช้เทคโนโลยี Interactive ผ่านหน้าจอแบบ 360 องศา หรือจอขนาด 1,000 ตารางเมตร และ การใช้เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) ที่จะดึงผู้เข้าร่วมงานนั้นเข้าไปยังโลกของ ศิลปินผู้โด่งดังอย่าง วินเซนต์ แวน โก๊ะ
การใช้เทคโนโลยี Interactive ในการจัดนิทรรศการ
วิดีโอจาก Amsterdam Calling
ภายในพิพิธภัณฑ์ Artis Amsterdam Royal Zoo ได้ทำการจัดนิทรรศการแสดง จุลินทรีย์ และไวรัสที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา นิทรรศการ “Museum of the Invisible Life” (ชื่อที่ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการ) เป็นการบรรยายเรื่องราวผ่านเทคโนโลยี Interactive และ กล้องจุลทรรศน์ ถึงแม้เราจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่สิ่งเหล่านี้อยู่รอบตัวเรา และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่อาศัย ถูกทำออกมาให้ได้เห็นแบบสมจริงผ่านเทคโนโลยี Interactive อีกทั้งยังมีการติดตั้งเซนเซอร์เพื่อให้ผู้เข้าชมได้วัดจำนวนแบคทีเรียในร่างกาย เป็นกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้ร่วมงานได้มากขึ้น
การนำเทคโนโลยี Interactive เข้ามาใช้นั้น เป็นการช่วยยกระดับการจัดนิทรรศการไปอีกขั้นหนึ่ง ให้ธุรกิจสร้างกิจกรรมที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ ด้วยการให้ผู้ร่วมงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ หรือได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริงของเหตุการณ์นั้นด้วยเทคโนโลยี Interactive รวมถึงเทคโนโลยี AR และ VR ผ่านประสาทสัมผัส กลิ่น เสียง ภาพ มุมมองจากเหตุการณ์จริง ก็จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานนั้นมีความประทับใจ เกิดความดื่มด่ำ (Immersive) เติมเต็มประสบการณ์ในการเข้าชมนิทรรศการ และยังเป็นสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ธุรกิจอีกด้วย
AREA OF SERVICE
Bangkok, Thailand
PHONE
061-023-7370
khem@anyimedia.com